พอพูดถึงตับนั้น หลายคนอาจจะยังไม่เห็น หน้าที่ตับ ว่ามีความสำคัญและคิดว่าเป็นเพียงแค่อวัยวะภายในหนึ่งชิ้นเท่านั้นเลยทำให้ถูกมองข้ามและละเลยการใส่ใจดูแลสุขภาพของตับ มิหนำซ้ำมีพฤติกรรมทำลายตับแบบไม่รู้ตัวจนกระทั้งเป็น ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ หรืออาจไปถึงขั้นเป็น มะเร็งตับเลยทีเดียว
เมื่อตับมีปัญหาก็ส่งผลการทำงานต่อร่างกายอย่างไม่คาดคิดเพราะตับถือว่าเป็น “ศูนย์กลางการทำงานของร่างกาย” ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมากจึงเรียกได้ว่าเป็นหัวใจดวงที่ 2 ของร่างกายเลยก็ว่าได้ ดังนั้นมาดูว่า หน้าที่ตับ และสำคัญต่อการมีชีวิตของเราอย่างไร
หน้าที่ตับ
ตับมีบทบาทหน้าที่สำคัญมากมายซึ่งเปรียบได้กับศูนย์กลางการทำงานภายในร่างกายหรือเรียกว่าเป็นโรงงานใหญ่ภายในร่างกายซึ่งมีหน้าที่หลัก 3 ส่วนคือ
1. ตับเป็นผู้ผลิต ตับสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอรวมถึงโปรตีนที่ทำหน้าที่ เป็นส่วนประกอบของเลือด (plasma proteins) เช่น อัลบูมิน ที่ช่วยอุ้มน้ำ สารอาหารและเกลือแร่เอาไว้ในหลอดเลือด, สร้างโปรตีน ไฟบริโนเจน(Fibrinogen)ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ตับเพื่อทำให้เลือดแข็งตัว และตับยังสร้างน้ำดี ที่ทำหน้าที่เผาผลาญ สลายไขมัน ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเป็น ไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบ และป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งตับได้ รวมทั้งตับยังมีหน้าที่สร้างสารประเภทไขมัน สารตั้งต้นของฮอร์โมน ตับทำหน้าที่ทางภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ตับเป็นผู้เก็บ ตับเป็นแหล่งกักเก็บไกลโคเจน เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน รวมถึงวิตามินและเกลือแร่บางชนิดที่จำเป็น เพื่อส่งให้ร่างกายเมื่อร่างกายต้องการ
3. ตับเป็นผู้เปลี่ยน ตับเปลี่ยนแปลง อาหาร และยา ให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำเอาไปใช้งานได้และตับยังมีหน้าที่ช่วยล้างพิษ กรองสารพิษในเลือด และขับของเสียออกจากร่างกาย โดยตับจะพยายามขับออกไปทางปัสสาวะหรือขับถ่ายมากับน้ำดี
ด้วย หน้าที่ตับ หลักทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวไปนั้น หากมีสุขภาพตับที่ไม่ดี ตับไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายทั้งหมดเช่นกัน ดังนั้นมาดูว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ทำร้ายตับ หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นไขมันพอกตับหรือตับอักเสบโรคร้ายที่นำไปสู่มะเร็งตับหรือตับแข็ง มาลองตรวจเช็คพฤติกรรมกันดูว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรค ไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบหรือไม่
ทำตับพัง
ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (และครั้งคราว)
เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน
ทำงานหนัก มีความเครียด
ชอบนอนดึก ตื่นสาย
กินยาหรืออาหารเสริมมากเกินไป
ไม่ออกกำลังกาย หรือมีวิถีชีวิตที่อยู่กับที่นานๆ
ไม่กินอาหารเช้า
ชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ
ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษ สารเคมี
ส่ำส่อนทางเพศ