ที่ดินมักกะสัน ที่พระราชทานเพื่อการรถไฟ ทำประโยชน์เพื่อประชาชน และเพื่อชาติ
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง
"เพื่อการรถไฟ ทำประโยชน์เพื่อประชาชน และเพื่อชาติ" [/b]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ต่อมา เมื่อการคมนาคมขนส่งทางรถไฟมีความนิยม และแพร่หลายมากขึ้น ทำให้โรง
งานซ่อมบำรุงรถไฟที่มีอยู่เดิม คือ โรงซ่อมบำรุงที่สถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และโรงงานซ่อมบำรุงที่สถานีบางกอกน้อย (สถานีธนบุรี) ไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของผู้โดยสาร และจำนวนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงทำให้มีการเวนคืนพื้นที่สำหรับสร้างโรงงานใหญ่ของกรมรถไฟ ณ ตำบลทุ่งมักกะสัน สร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดทำการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2453 โรงงานใหม่แห่งนี้มีหน้าที่ซ่อมรถจักร และล้อเลื่อนทุกประเภทของกรมรถไฟสายเหนือ สายโคราช และ สายตะวันออก ทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปในนาม
"โ รงงานมักกะสัน "โรงงานมักกะสัน หรือ Makkasan Workshop อู่ซ่อมรถไฟที่เคยใหญ่ที่สุดในประเทศ อายุ 108 ปี
ปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ
• พื้นที่อาคารพัสดุ
• พื้นที่อาคารโรงงาน และบริเวณต่อเนื่องของคลังพัสดุ อะไหล่ เก็บรถจักร รถพ่วงที่รอการซ่อม
• พื้นที่สับเปลี่ยนย่านโรงงาน
• พื้นที่ย่านโรงงานที่จัดทำประโยชน์เพิ่มเติม
• พื้นที่ Airport Rail Link
สภาพพื้นที่บางส่วนภายในที่ดินมักกะสัน
ที่ดินมักกะสัน จัดได้ว่าเป็นที่ดินอีกหนึ่งทำเลทองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมีความพยายามจะนำไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ เบื้องต้นก็ได้แค่ทำการศึกษาความเหมาะสม การศึกษาออกแบบรายละเอียดตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้หรือแม้กระทั่งการศึกษาความคุ้มค่าด้านการลงทุนครั้งแล้วครั้งเล่าเท่านั้น หมดงบประมาณเพื่อทบทวนผลการศึกษาไปจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังเสนอรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการไม่สำเร็จสักที
“หากมองไปที่โครงการพัฒนาพื้นที่มักกะสันจะสามารถเกิดขึ้นมาได้นั้น แต่ไม่สามารถพัฒนาได้จริง เรียกได้ว่า ผ่านมาในหลายรัฐบาล ตั้งแต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จนถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่คืนได้ แถมยังไม่มีกำหนดว่า โครงการพัฒนานี้จะมีสิทธิ์ได้เกิดในชาตินี้หรือไม่”
การพัฒนาที่ดินมักกะสัน เป็นโครงการนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 ในกทม. และอยู่ใจกลางเมือง หากสามารถนำไปพัฒนาในทิศทางที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดการเปิดพื้นที่ใหม่ ทำให้กรุงเทพสามารถเปลี่ยนเป็นเมืองที่มีความทันสมัยระดับสากล ทั้งทางเศรษฐกิจ จะมีผลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบธุรกิจต่อประเทศโดยรวมจาก
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : EEC พลิกปมข่าว เหตุผลค้านเช่าที่ดินมักกะสันแลกหนี้
[/u]