ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายอัครัช พินดวง
ส่วนราชการ โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง โดยบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการใช้บทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 30 คน แต่ละห้องมีความสามารถใกล้เคียงกัน คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน เหมือนกันทุกห้อง และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 จำนวน 6 บท มีคุณภาพด้านเทคโนโลยีเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 และบท มีคุณภาพด้านเนื้อหาเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.38-075 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.25-0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Ratting Scale) ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.10-0.53 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ( -Cronbach) เท่ากับ 0.650 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นใน
โปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.22 /83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบ
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ค่าเฉลี่ย 4.60 หมายถึงพึงพอใจมากที่สุด
โดยสรุป การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง โดยบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ กล่าวคือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การคำนวณและฟังก์ชั่นในโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 สูงขึ้น จึงสมควรแนะนำให้ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นต่อไป และในการทดลองครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมทักษะใหม่ ๆ (ทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือทักษะแห่งอนาคต)ให้กับนักเรียน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life and Career Skills) ซึ่งในศตวรรษที่ 21 ระบุว่านอกจากนักเรียนจะมีความรู้ในรายวิชาหลัก (Core Subject) จาก 8 กลุ่มสาระในหลักสูตรแล้ว นักเรียนควรจะมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต
สามารถเข้าไปทดลองใช้ที่
http://www.kru-akkarat.com/