สิงคโปร์--19 พ.ย.--พีอาร์นิวสไวร์/อินโฟเควสท์
หนังสือ McKinsey Quarterly ฉบับเดือนสิงหาคม 2536 นั้น จอห์น สตัคกี และ เดวิด ไวท์ ได้บรรยายไว้มากมายเพื่อที่จะเตือนถึงอันตรายต่างๆนานาที่เกิดจากการทำธุรกิจแบบหลอมรวมในแบบแนวดิ่งของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
ใจความหลักก็คือ "อย่าหลอมรวมแบบแนวดิ่ง หากการดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสร้างหรือรักษาคุณค่าไว้"
บทความดังกล่าวได้บรรยายในรายละเอียดถึงกับดักที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการตักเตือน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักเขียนคู่นี้ไม่ใช่แฟนตัวยงของโมเดลดังกล่าว
บริษัทต่างๆ ที่ดำเนินการตามกระบวนการหลอมรวมกันแนวดิ่งนั้น มีเหตุผลหลายประการด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในข้อได้เปรียบหลักๆก็คือ บริษัทที่ได้หลอมรวมกันในแนวดิ่งจะเป็นผู้ครอบครองห่วงโซ่อุปทานของตนเองและการดำเนินการเช่นนั้น จะก่อให้เกิดคุณค่าในทุกๆระดับ ในโมเดลธุรกิจที่ดีนั้น สมาชิกแต่ละรายของห่วงโซ่อุปทานจะเป็นผู้ผลิตสินค้าและให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างกัน
การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นเรื่องค่อนข้างจะง่ายที่จะได้มาซึ่งความสำเร็จ ตราบใดที่ยังคงมีตลาดรองรับสินค้าใดๆก็ตามที่บริษัทได้ผลิตออกมา
ในอุดมคติแล้ว โมเดลของธุรกิจที่สมบูรณ์แบบจะมีบริษัทในแวดวงเข้ามาซื้อและใช้งานสินค้าหรือบริการที่ได้มีการผลิตขึ้นมา โดยบริษัทเองจะสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ เพราะเมื่อวันทำการสิ้นสุดลง ภายหลังจากที่มีการสรุปยอดบัญชีแล้ว แผนกงานหนึ่งของบริษัทคงไม่คิดค่าใช้จ่ายเกินจริงกับแผนกงานอื่นๆ เพราะไม่ทราบว่าจะทำไปเพื่อจุดประสงค์อะไร?
การคิดราคาต่ำเกินจริงก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกเช่นกัน เนื่องจากบัญชีต่างๆต้องการความสมดุลในเรื่องค่าใช้จ่าย ในโลกธุรกิจแห่งอุดมคตินั้น จะมีการตกลงกันเรื่องราคาที่สามารถสร้างความพึงพอใจด้านการเงินให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมห่วงโซ่อุปทานนับเป็นประเด็นที่ไม่สามารถให้ความสำคัญมากจนเกินไปได้ ในแง่ความสำคัญที่มีต่อรูปแบบการทำธุรกิจแบบหลอมรวมกันในแนวดิ่งที่ประสบความสำเร็จ การควบคุมดังกล่าวสามารถลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ และตรวจสอบตัวแปรต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในปัญหาใหญ่ของโมเดลธุรกิจแบบหลอมรวมแนวดิ่ง คือ ห่วงโซ่อุปทานนี้สามารถเป็นได้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใดก็ตามที่อุปสงค์ในขั้นตอนต่างๆไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อความสมบูรณ์ขององค์ประกอบโดยรวม
อย่างไรก็ดี กระบวนการดังกล่าวสามารถสัมฤทธิ์ผลได้จริง ซึ่ง Asia Plantation Capital เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบในกรณีดังกล่าว ด้วยการนำแง่มุมบวกจากการผนวกรวมแนวดิ่งนี้ ในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดโดยการควบคุมทุกจุดเชื่อมต่อของห่วงโซ่อุปทาน และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อได้เปรียบต่างๆที่มี
ด้วยภาษิตที่ว่า "จากดิน....สู่น้ำมัน....สู่คุณ" ยังคงดังก้องไปยังทุกภาคส่วนของบริษัท Asia Plantation Capital และบริษัทพันธมิตร บริษัทเหล่านี้จึงได้นำเสนอเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความยั่งยืน ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิม และสำนึกในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ดีเยี่ยมสำหรับนักลงทุนและผู้ถือหุ้น
กระบวนการดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการซื้อที่ดิน และสิ้นสุดลงด้วยการกลั่นกรองน้ำหอมอันสุดพิเศษ ทุกๆ ขั้นตอนระหว่างกระบวนการนั้นจะต้องได้รับการยืนยันว่า จุดเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทานล้วนมีความปลอดภัย ซึ่ง Asia Plantation Capital จะเป็นผู้ดูแลเรื่องเหล่านี้
จากดิน...
Asia Plantation Capital ได้ปลูกต้นกฤษณาในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งไม้ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ที่ถูกจัดว่าใกล้สูญพันธุ์ และได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อเป็นพันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งจัดทำโดย CITES ( Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)
สู่น้ำมัน...
ต้นกฤษณา เมื่อได้รับเชื้อราชนิดหนึ่ง จะผลิตยางสีดำออกมาเพื่อรับมือกับเชื้อรานั้น ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างคุณค่าให้กับไม้กฤษณานี้ก็คือน้ำมันกฤษณา
น้ำมันกฤษณาได้ถูกนำไปใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมมาเป็นเวลาหลายพันปี น้ำมันกฤษณายังได้รับการชื่นชมในเรื่องกลิ่นที่มีความหอมและคุณสมบัติในทางยา
เมื่อนำมาสกัด น้ำมันกฤษณาสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันสกัดที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตน้ำหอม ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ
น้ำมันกฤษณาที่ Asia Plantation Capital ได้ผลิตขึ้นมาล้วนมีคุณภาพสูงสุด และด้วยการเป็นบริษัทที่คำนึงถึงการผนวกรวมแนวดิ่ง บริษัทจึงได้ตั้งโรงกลั่นน้ำมันขึ้นมาเอง นับเป็นการเชื่อมต่อสองกระบวนการผลิตในห่วงโซ่อุปทานเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังและรวดเร็ว
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่:
Cache Journal Limited
Towers Point, Wheelhouse Road, Rugeley, WS15 1UN United Kingdom
Tel: +65 6299 4998
Email: pr@cachejournal.com