
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ ในระบบ
ไฟฟ้าแรงต่ำมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมในอัตรา 56.07 บาทต่อกิโลวาร์ เมื่อค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของระบบต่ำกว่า 0.85 แล้วนั้น ยังส่งผลให้ภาพรวมของคุณภาพกำลังไฟฟ้า (Power Quality) ของประเทศให้ดีขึ้นอีกด้วย
อุปกรณ์สำหรับปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ 4 ประเภท อุปกรณ์เพื่อการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า(Power Factor Correction) ร่วมกับแผงสวิตช์ระบบจำหน่ายแรงต่ำหลัก (Main Low Voltage Switchboard, MLVS) สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breakers), ฟิวส์ใบมีด (HRC Fuses)
อุปกรณ์เชื่อมต่อ ได้แก่ สายไฟฟ้า (Cables), บัสบาร์ (Busbar)
อุปกรณ์ควบคุมและแสดงผล ได้แก่ คอนแทคเตอร์ (Contactors), เครื่องตรวจวัดและควบคุมค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของระบบ (Power Factor Controller), หลอดไฟ (Pilot Lamps), ปุ่มกด (Push Buttons), สวิตช์เลือกระบบ (Selector Switches)
อุปกรณ์ต่อเพิ่มเพื่อปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ ได้แก่ คาปาซิเตอร์ (Capacitors), ดีจูน รีแอคเตอร์ (Detuned Reactors)
หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการ
ตู้ไฟ คุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
KJL LINE Official Account:
@KJL.connect