หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เรื่องน่ารู้ อาหารเสริมที่ควรระวังสำหรับผู้ป่วยบางโรค  (อ่าน 10 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 ต.ค. 22, 22:19 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีโฆษณาของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคอาจเชื่อในข้อดีของผลิตภัณฑ์ โดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากรับประทานมากเกินความจำเป็น หรือผิดวิธี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างมากกับผู้บริโภคที่มีโรคประจำตัว

1.ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมักรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เป็นประจำ เช่น Aspirin Warfarin เพื่อไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในร่างกาย จึงต้องมีการตรวจติดตามการแข็งตัวของเลือดอยู่เสมอ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงของยา มีการรายงานว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ น้ำมันปลา กระเทียม แปะก๊วย โสมอเมริกัน (Panax quinquefolius) St. John’s wort และวิตามินอีในปริมาณสูง (> 400 IU ต่อวัน) สามารถเสริมฤทธิ์ยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้ โดยจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงยาต้านการแข็งตัวของเลือดมากขึ้น ได้แก่ เลือดออก ปัสสาวะเป็นสีคล้ำ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด

2.ผู้ป่วยที่รับประทานยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ควรระมัดระวังการรับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพร St. John’s wart ในผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยา digoxin (ยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ รักษาโรคหัวใจล้มเหลว) verapamil (ยาลดความดันโลหิต) และยากลุ่ม statin (ยาลดไขมันในเลือด) โดยสมุนไพรดังกล่าวสามารถลดประสิทธิภาพการรักษาจากยาข้างต้นและทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการได้

3.ผู้ป่วยที่รับประทานยารักษาการทางจิต
เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษากับแพทย์ มักได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการให้สงบ โดยผลิตภัณฑ์ที่พบได้ง่ายในท้องตลาด สามารถเกิดอันตรกิริยากับยาที่รับประทานอยู่ได้ ตัวอย่าง เช่น การรับประทานแปะก๊วย ร่วมกับยาต้านจิตเภทกลุ่ม atypical antidepressant ได้แก่ bupropion, trazodone จะทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมและอารมณ์แปรปรวนได้ หรือการรับประทานโสมร่วมกับยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitors ได้แก่ selegiline and rasagiline จะทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ และ ใจสั่นได้

4.คนไข้โรคไต
โรคไตเป็นโรคเรื้อรังซึ่งไตไม่สามารถกรองของเสียได้ตามปกติ ดังนั้นเพื่อให้ไตไม่ทำหน้าที่หนักเกินไป ผู้ป่วยโรคไตจึงต้องมีการรักษาความดันโลหิตและระดับสมดุลเกลือแร่ในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ มีการรายงานว่า การใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว กระเจี๊ยบ และยาถอดปล้องหรือหญ้าหางม้า ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จะทำให้ไตเสื่อมสภาพมากขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะและลดการขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ปัจจุบันคนไทยนิยมการบริโภคโสม และ ถังเช่ามากขึ้น เนื่องจากมีการศึกษาและอวดอ้างถึงสรรพคุณในการรักษาอาการต่างๆ เช่น เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยการทำงานของไตให้เป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาทดลองยังมีจำนวนน้อย และยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงในระยะยาว

5.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่สลายอาหารที่รับประทานเป็นพลังงานแก่ร่างกาย โดยทั่วไปสามารถพบโรคเบาหวานได้ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 คือร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ทำให้ผู้ป่วยขาดพลังงาน อ่อนแรง จึงต้องได้รับการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเข้าร่างกายโดยตรง และเบาหวานประเภทที่ 2 คือ ผู้ป่วยมีฮอร์โมนอินซูลินแต่ร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย คนไข้ประเภทนี้มักได้รับยาที่ปรับให้ร่างกายไวต่อการทำงานของอินซูลิน ได้แก่ metformin โดยอาการข้างเคียงที่พบมากของผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ ภาวะน้ำตาลต่ำ โดยจะมีอาการเช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียน หรือหากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไปอาจเกิดการช็อคได้

6.ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดผิดปกติ
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ คือ มีโคเลสเตอรอล แอลดีแอล สูง หรือ มี เอชดีแอลต่ำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะเดียวกันหากมีระดับไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงจะสัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับโดยมักจะเกี่ยวข้องกับเบาหวานและไขมันในเลือดสูง หากมีระดับไขมันในเลือดสูงไม่มาก ผู้ป่วยสามารถปรับกิจวัตรประจำวันเพื่อลดระดับไขมันลง เช่น เพิ่มการออกกำลังกายหรือคุมอาหาร หรืออาจพิจารณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีหลักฐานช่วยลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย เช่น แพลนท์ สเตอรอล สตานอล เส้นใยชนิดละลายน้ำ ข้าวยีสต์แดง สารสกัดจากกระเทียม เบอร์บีรีน สารสกัดจากชาเขียว และ โอเมก้า3 แต่หากระดับไขมันในเลือดสูงเกินกว่าที่จะควบคุมได้ แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมันในลือด โดยส่วนมากมักได้รับยาในกลุ่ม statin และเนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถเกิดการขัดแย้งกันกับสารอื่นได้หลายชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ ข้าวยีสต์แดง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ออกฤทธิ์คล้ายยากลุ่ม statin จึงสามารถเพิ่มการเกิดอาการข้างเคียงได้


ก่อนจะตัดสินใจทานอาหารเสริมควรศึกษาข้อมูลก่อน เพื่อจะได้ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพนะ


ข้อมูลจาก > https://www.topsvita.com/blog/post/the-possible-risk-of-dietary-supplements.html

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ท็อปส์วีต้า  topsvita  อาหารเสริม  วิตามิน  อาหารเสริมสุขภาพ  Vitamin 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม