การทดลองทางคลินิกยืนยันว่าพลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis ของคิริน โฮลดิ้งส์ มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสที่ไม่มีทางรักษาหายและไม่มีวัคซีนป้องกัน โตเกียว - Media OutReach - 17 กันยายน พ.ศ. 2564 - การทดลองร่วมทางคลินิกยืนยันว่า การใช้พลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis (LC-Plasma)*1 ของบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด (คิริน โฮลดิ้งส์) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองเดือนจะช่วยลดจำนวนวันที่เป็นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดกระบอกตา ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการสำคัญของไข้เลือดออก LC-Plasma เป็นสารอาหารเฉพาะด้าน (Functional Ingredient) เดียวกันกับที่ใช้ใน IMMUSE ที่มีความเสถียรของคิริน โฮลดิ้งส์ ซึ่งช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกัน การศึกษานี้ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยกลางของคิริน (Kirin Central Research Institute) โดยได้รับความร่วมมือจาก ศาสตราจารย์ ดร. ซาซาลีย์ อาบู บาการ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อเขตร้อน (TIDREC) มหาวิทยาลัยมาลายา
*1: Lactococcus lactis subsp. lactis JCM 5805 เป็นกรรมสิทธิ์ของ RIKEN BioResource Research Center
ไม่มีทางรักษา ไม่มีวัคซีน...แต่ความหวังที่จะลดอาการเหล่านี้กลับเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้อาหาร โลกของเรายังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่เป็นที่แน่ชัดในการรักษาโรคไข้เลือดออก อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เรายังคงมีความหวังที่จะจัดการกับอาการต่าง ๆ ได้ การทดลองทางคลินิกยืนยันถึงผลการต้านอาการที่มีความคล้ายคลึงกับอาการของไข้เลือดออกจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและไม่ต้องพึ่งโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จที่ก้าวล้ำและมีศักยภาพในการแก้ปัญหาสังคมทั่วโลกในส่วนของโรคไข้เลือดออก ผลการวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอในการประชุมประจำปีครั้งที่ 25 ของสมาคมการท่องเที่ยวและสุขภาพแห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา
เนื่องจาก LC-Plasma ทำให้ศูนย์สั่งการของระบบภูมิคุ้มกันต้านไวรัสทำ
งาน จึงแสดงให้เห็นว่ามันมีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสหลากหลายชนิดที่นอกเหนือไปจากไวรัสไข้เลือดออก*2 ในอนาคตนี้ คิริน โฮลดิ้งส์ และมหาวิทยาลัยมาลายาจะเร่งดำเนินการวิจัยร่วมกันโดยมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของ LC-Plasma ต่อไวรัสโรคเขตร้อนอื่น ๆ นอกเหนือจากไวรัสไข้เลือดออก
*2: รายงานการวิจัยพลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis https://health.kirin.co.jp/ps/index.html
คิริน โฮลดิ้งส์ รายงานว่า LC-Plasma แสดงผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสผ่านการกระตุ้นเซลล์ Plasmacytoid Dendritic*3 ในการทดลองที่ไม่ใช่ทางคลินิกและทางคลินิก และ LC-Plasma สามารถลดอุบัติการณ์ของไข้หวัดใหญ่*4 ได้ในการทดสอบทางคลินิก ด้วยความร่วมมือกับ TIDREC ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือเพื่อการอ้างอิงและวิจัยอาร์โบไวรัสขององค์การอนามัยโลก ความร่วมมือของเราจะยังคงเดินหน้าตรวจสอบถึงผลกระทบของ LC-Plasma ต่อโรคติดเชื้อเขตร้อนอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่อไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน ควบคู่กันไปนั้น คิริน โฮลดิ้งส์ จะทำให้ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึง LC-Plasma ได้มากขึ้นผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรและการขยายธุรกิจ ซึ่งจะมอบทางออกให้กับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
*3: Jounai et al., PLoS One (2012) / Sugimura et al., Clin. Immunol (2013)
*4: Sakata et al., Health (2017)
[เอกสารแนบ]
1. สรุปผลการวิจัยร่วมเกี่ยวกับไข้เลือดออก (1 หน้า)
เอกสารแนบ สรุปผลการวิจัยร่วมไข้เลือดออก การทดลองทางคลินิก จากผลการวิจัยก่อนหน้านี้ที่ดำเนินการโดยบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด*5 สถาบันวิจัยกลางของคิริน (Kirin Central Research Institute) ประจำบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด และศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อในเขตร้อน (TIDREC) ที่มหาวิทยาลัยมาลายา ได้ร่วมมือกันในโครงการวิจัยร่วมเกี่ยวกับพลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis (LC-Plasma) กับโรคไข้เลือดออกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 ในช่วงเวลาการทดลองนี้ มีการขอให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีประมาณ 100 คน ผู้ถือสัญชาติมาเลเซียและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้เลือดออกใกล้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รับประทานยาเม็ดที่มี LC-Plasma (ประมาณ 100 พันล้านเซลล์) หรือยาหลอกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และวัดอาการ ผลการศึกษาพบว่า LC-Plasma สามารถลดจำนวนวันสะสมซึ่งปรากฏอาการคล้ายไข้เลือดออกได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ และปวดหลังตา (ภาพที่ 1-3) ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า LC-Plasma ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันความรุนแรงของโรคได้ ในขณะที่ทางเลือกอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับโรคไข้เลือดออกคือการบำบัดด้วยการใช้วิธีการแก้ปัญหา
รูปที่1-3 การเปรียบเทียบจำนวนวันรวมที่มีอาการเฉพาะของโรคในเขตร้อน เช่น ไข้เลือดอออก (อาการแทน)
*5: Tsuji et al., Antiviral Res (2018) / Suzuki et al., Int J Mol Med. (2019)
เค้าโครงงานวิจัยร่วม -
สถานที่: ห้องปฏิบัติการเพื่อการศึกษาการควบคุมภูมิคุ้มกัน ศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อเขตร้อน (TIDREC) มหาวิทยาลัยมาลายา
-
นักวิจัยรับเชิญ: นักวิจัยหนึ่งท่านซึ่งได้รับการ
แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์รับเชิญจากบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด
- ระยะเวลาการวิจัย: ตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2566 (หลังจากนั้นจะขยายระยะเวลาตามความคืบหน้าของโครงการและการวิจัย)
-
หัวข้อการวิจัย: ดำเนินการวิจัยทางภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในเขตร้อน เพื่อสนับสนุนการสาธารณสุขในภูมิภาค และเร่งการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศในส่วนธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพของคิริน โฮลดิ้งส์ โดย:
- การยืนยันประสิทธิภาพของ LC-Plasma ในการต่อต้านไวรัสโรคเขตร้อน (การวิจัยที่ไม่ใช่ทางคลินิก)
- การยืนยันประสิทธิภาพของ LC-Plasma ต่อการติดเชื้อไวรัสโรคเขตร้อน (การทดลองทางคลินิก)
- การสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาธุรกิจ LC-Plasma ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้